พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร | |
---|---|
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นตรี | |
ประสูติ | 7 มีนาคม พ.ศ. 2449 |
สิ้นพระชนม์ | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2513 (64 ปี) |
พระสวามี | หม่อมเจ้าโสภณภราไดย สวัสดิวัตน์ |
พระบุตร | หม่อมราชวงศ์พรรธนภณ สวัสดิวัตน์ |
ราชสกุล | ฉัตรชัย (โดยประสูติ) สวัสดิวัตน์ (โดยเสกสมรส) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน |
พระมารดา | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล |
ศาสนา | พุทธ |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร (7 มีนาคม พ.ศ. 2449 – 11 สิงหาคม พ.ศ. 2513) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล
พระประวัติ
[แก้]พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร มีพระนามลำลองว่า พระองค์หญิงฉัตร[1] ประสูติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2448 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2449) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล
ครั้นวันรุ่งขึ้น วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2448 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2449) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ตั้งพระบุตรีของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร อันประสูติจากพระครรภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล เป็น พระหลานเธอ พระองค์เจ้า ทุกพระองค์สืบไป[2]
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร มีพระโสทรานุชาและพระโสทรขนิษฐา 3 พระองค์ ได้แก่
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง (11 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 6 เมษายน พ.ศ. 2454)
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร (12 สิงหาคม พ.ศ. 2458 – 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2524)
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร (27 มิถุนายน พ.ศ. 2464 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552)
มีพระอนุชาและพระขนิษฐาต่างมารดาอีก 8 องค์ คือ ท่านผู้หญิงฉัตรสุดา วงศ์ทองศรี, หม่อมเจ้ากาญจนฉัตร ศุขสวัสดิ์, หม่อมเจ้าภัทรลดา ดิศกุล, หม่อมเจ้าสุรฉัตร ฉัตรชัย, ท่านหญิงเฟื่องฉัตร ดิศกุล, ท่านหญิงหิรัญฉัตร เอ็ดเวิร์ดส, หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย และหม่อมเจ้าพิบูลฉัตร ฉัตรชัย[3]
พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์[4]
ในการพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าและหม่อมเจ้า พระราชนัดดาในรัชกาลที่ 4 และ 5 เชิญทั้งเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร และเครื่องราชูปโภค ทั้งหมด 16 องค์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยืนกลาง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีทรงยืนเบื้องขวาพระองค์ แวดล้อมด้วยพระราชนัดดา ในรัชกาลที่ 4 และ 5 ทรงเชิญเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร ทั้งนี้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้ามยุรฉัตร พระราชนัดดาในรัชกาลที่ 5 ทรงอุ้มไก่แจ้ขาว และเชิญทานพระกรศักดิ์สิทธิ์[5]
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร เสกสมรสกับหม่อมเจ้าโสภณภราไดย สวัสดิวัตน์ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2473 มีพระโอรสคือ หม่อมราชวงศ์พรรธนภณ สวัสดิวัตน์ (นามเดิม: หม่อมราชวงศ์ฉัตรโสภณ สวัสดิวัตน์)
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2513 สิริพระชันษา 64 ปี
พระนิพนธ์
[แก้]พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร ทรงมีพระนิพนธ์ทั้งเขียน และงานแปล อาทิ
- ชีวิตในต่างประเทศ (พ.ศ. 2493)
- ศิลปแห่งการครองชีพ (พ.ศ. 2494)
- บันทึกความทรงจำชีวิตในต่างประเทศ ภาคต้น (พ.ศ. 2550)
พระอิสริยยศ
[แก้]- พระบุตรีของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร (7 มีนาคม พ.ศ. 2449 – 8 มีนาคม พ.ศ. 2449)
- พระหลานเธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร (8 มีนาคม พ.ศ. 2449 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 สิงหาคม พ.ศ. 2513)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2469 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายใน)[6]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[7]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2487 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)
- พ.ศ. 2469 - เสมาบรมราชาภิเษกทอง รัชกาลที่ 7[8]
พงศาวลี
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.จ.ไกรสิงห์ วุฒิชัย ณ เมรุวัดธาตุทอง วันพุธ ที่ 23 มิถุนายน 2519. [ม.ป.ท.]: มงคลการพิมพ์; 2519.
- ↑ ประกาศตั้งหม่อมเจ้าเป็นพระองค์เจ้าหลานเธอ เล่ม 22 หน้า 1128 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 11 มีนาคม 2449
- ↑ เนื่องในวโรกาสพระราชทานเพลิงพระศพ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ ที่ 7 พฤศจิกายน 2553. [ม.ป.ท.]: ม.ป.พ.; 2553.
- ↑ "ศูนย์กลางต่าง ๆ ของชุมชนสีลม". หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก “เฉลิมพระราชมณเฑียร” รายการจดหมายเหตุ กรุงศรี ออกอากาศ 8 พฤษภาคม 2560 รายการละเอียดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เฉลิมพระราชมนเฑียร และเสด็จ เลียบพระนคร ใน พระบาทสมเด็จฯพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช 2468. (2496). กรมศิลปากร.
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 43 หน้า 3113 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26 พฤศจิกายน 2469
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน เล่ม 43 หน้า 4601 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 6 มีนาคม 2470
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศกระทรวงวัง เรื่อง การประดับเสมาบรมราชาภิเษก เล่ม 43 หน้า 3719 วันที่ 16 มกราคม 2470
- กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ "วังหลวง". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2549. 304 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-205-2
- พีระเดช อนุพงษ์ จักรพันธุ์, ม.ร.ว.. ๑๕๐ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง, 2548. 278 หน้า.